- ลงทุนหุ้นใหญ่ดีจริงหรือไม่? - February 20, 2022
- รีวิวผลตอบแทน 40 กลยุทธ์การลงทุนในตลาดหุ้นไทยของเดือนมกราคมปี ค.ศ. 2022 - February 7, 2022
- รีวิวผลตอบแทน 40 กลยุทธ์การลงทุนในตลาดหุ้นไทยปี ค.ศ. 2021 - January 5, 2022
ถ้าพูดถึงวิธีการประเมินหุ้นของบริษัทที่มีศักยภาพในการทำกำไรที่สูงนั้น นักลงทุนหลายๆคนคงจะนึกถึงการพิจารณาอัตราส่วน ROE และ ROA ซึ่งทั้งสองมาตรานั้นต่างก็เป็นอัตราส่วนที่บ่งบอกคุณภาพของกำไร (Quality) ที่บริษัทสร้างได้จากการดำเนินธุรกิจ โดยในบทความนี้เราจะมาลองทดสอบกันว่า ระหว่างตัวแปรอัตราส่วน ROE ที่ Warren Buffett มักพูดถึง และอัตราส่วน ROA ที่นักลงทุนหลายๆท่านก็สนใจนั้น อัตราส่วนใดจะมีประสิทธิภาพในการทำกำไรจากตลาดหุ้นไทยมากกว่ากัน โดยผมหวังว่าบทความชิ้นนี้จะมีประโยชน์กับนักลงทุนทุกๆท่านกันครับ
ทำความรู้จักกับอัตราส่วน ROE และ ROA Ratio
ถึงแม้ว่าอัตราส่วน ROE และ ROA นั้นจะเป็นอัตราส่วนในการวัดความมีประสิทธิภาพในการสร้างกำไรจากการดำเนินธุรกิจของบริษัททั้งคู่ แต่จริงๆแล้วความหมายและที่มาของอัตราส่วนทั้ง 2 นั้นกลับมีรายละเอียดวิธีการคำนวณที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งอ้างอิงจาก คู่มือสูตรการคำนวณค่าสถิติและอัตราส่วนทางการเงินของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดังนี้ครับ
อัตราส่วน ROE หรือ Return on Equity Ratio คือ อัตราส่วนของผลกำไรสุทธิที่ผู้ถือหุ้นนั้นจะได้รับ โดยนิยมใช้ในการวิเคราะห์เพื่อวัดผลตอบแทนจากการดำเนินธุรกิจที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับ ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการบริหารงานของบริษัทโดยวัดจากผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับ
- คำนวณจาก ส่วนของกำไร (ขาดทุน) ที่เป็นของผู้ถือหุ้น / ผลรวมส่วนของผู้ถือหุ้นของ (เฉลี่ย)
ในขณะที่อัตราส่วน ROA Ratio หรือ Return on Assets Ratio นั้นคือ อัตราส่วนของผลกำไรสุทธิจากการดำเนินธุรกิจสินทรัพย์ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพของบริษัทในการนำสินทรัพย์ไปลงทุนและสร้างผลตอบแทน โดยเป็นค่า ROA นั้นแสดงถึงผลกำไรจากการดำเนินงานเปรียบเทียบกับสินทรัพย์ทั้งหมดที่บริษัทใช้ดำเนินการ
- สำหรับธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมและบริการคำนวณจาก (กำไร (ขาดทุน) ก่อนดอกเบี้ยและภาษีเงินได้ / สินทรัพย์รวม ) * 100
- สำหรับธุรกิจอื่นๆคำนวณจาก (กำไร (ขาดทุน) ก่อนภาษีเงินได้ / สินทรัพย์รวม ) * 100
ดังนั้น เราจึงสามารถสรุปได้ว่าอัตราส่วน ROE นั้นเป็นการเทียบอัตราผลตอบแทนของบริษัทต่อผู้ถือหุ้น และอัตราส่วน ROA เป็นอัตราผลตอบแทนของบริษัทต่อสินทรัพย์นั่นเอง
รายละเอียดการทดสอบวิจัย
โดยในส่วนถัดไปนี้เราจะมาลองทำการทดลองเทียบประสิทธิภาพของมาตราวัดคุณภาพ (Quality) ของกำไรทั้ง 2 ตัวนี้ โดยเราจะนำกลยุทธ์ลักษณะ Buy & Hold (ซื้อและถือยาว) ที่คัดเลือกหุ้นที่มีอัตราส่วน ROE และ ROA ที่สูงที่สุดในตลาดมาสร้างเป็นพอร์ตโฟลิโอที่เป็นตัวแทนของทั้ง 2 มาตราวัดนี้โดยมีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในขั้นต้นของทั้งสองตัวแปรในการคัดเลือกหุ้นที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ในตลาดหุ้นไทย โดยมีรายละเอียดการทดสอบวิจัยดังนี้
Condition | Details |
Backtesting Window |
|
Backtesting Restriction |
|
Universe |
|
Entry |
|
Exit |
|
Filters |
|
Position Size |
|
Position Score |
|
ตารางที่ 1 : ตารางแสดงเงื่อนไขต่างๆสำหรับการทดสอบตัวแปร ROE และ ROA
ผลการทดสอบการเปรียบเทียบ ROE และ ROA
Portfolio Metrics | ROE Ratio | ROA Ratio | SET Index |
Net Profit | 2,061.67% | 631.19% | 216.94% |
CAGR | 17.15% | 10.79% | 6.12% |
MaxDD | -53.22% | -49.91% | -58.02% |
Longest DD (Month) | 45.85 | 48.05 | 52.65 |
CAR/MDD | 0.32 | 0.22 | 0.11 |
Trade Metrics | ROE Ratio | ROA Ratio | SET Index |
No. of All Trade | 614 | 657 | – |
Avg. Bar Held | 300.79 | 253.53 | – |
% Win | 50.65% | 52.21% | – |
Avg. Profit/Loss % | 33.04% | 15.57% | – |
Max Consecutive Loss | 22 | 11 | – |
ภาพที่ 1 และตารางที่ 2 : ภาพ (Log Scale) และตารางแสดงผลตอบแทนของพอร์ตโฟลิโอ Undervalue วัดด้วย ROE (เส้นสีเขียว), ROA (เส้นสีฟ้า) และดัชนี SET Index (เส้นสีดำ)
จากภาพและตารางข้างต้นแสดงให้เห็นว่าการเลือกลงทุนในบริษัทที่มีคุณภาพของกำไรดีเป็นอันดับต้นๆของตลาด ซึ่งวัดโดยอัตราส่วน ROE และ ROA นั้น ในภาพรวมให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าผลตอบแทนของตลาดอย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งมีผลตอบแทนโดยเฉลี่ยทบต้นต่อปีเท่ากับ 17.15% และ 10.79% ตามลำดับเมื่อเปรียบเทียบกับดัชนี SET Index ที่ 6.12%
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการทดสอบดังกล่าวเป็นการทดสอบแบบ Buy & Hold ทำให้ระดับความเสี่ยงที่วัดโดยค่า Maximum Drawdown นั้นอยู่ในระดับที่ค่อนข้างจะใกล้เคียงกับดัชนี SET Index เนื่องจากในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจนั้นหุ้นส่วนมากในตลาดต่างก็พาลงกันหมดทั้งตลาดนั่นเอง
บทสรุปการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ ROE และ ROA
จากผลการทดสอบในเชิงทฤษฎีข้างต้นนั้นสามารถสรุปได้ว่า การคัดเลือกหุ้นจากคุณภาพของกำไรด้วยอัตราส่วน ROE และ ROA นั้น ในภาพรวมให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าดัชนี SET Index (Outperformance) โดยการคัดเลือกหุ้นด้วย ROE สูงสุดนั้นจะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าการคัดเลือกด้วย ROA สูงสุด โดยมี CAGR เท่ากับ 17.15% และ 10.79% ตามลำดับ
ซึ่งผมขอปิดท้ายด้วยคำพูดของปู่ที่ให้มักจะเน้นย้ำอยู่เสมอว่าให้เราสนใจที่ ROE เป็นหลักดังนี้ครับ
ภาพที่ 2 : “จงสนใจผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น (ROE)
มากกว่าผลกำไรต่อหุ้นที่ประกาศออกมา (EPS)” – Warren Buffett
(Click ที่ภาพด้านซ้ายบนเพื่อแชร์ภาพสวยๆเก็บไว้กันได้เลยครับ ^^)
หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์และทำให้เพื่อนๆพี่น้องนักลงทุนสามารถนำแนวคิดไปพัฒนาต่อยอดกลยุทธ์การลงทุนเดิม หรือการนำไปประยุกต์ใช้สร้างกลยุทธการลงทุนใหม่ๆกันนะครับ ซึ่งหากใครที่สนใจฐานข้อมูลราคาหุ้นและงบการเงินแบบ Time-Series ที่เราใช้ในการวิจัยและทดสอบนี้ เพื่อพัฒนาระบบการลงทุนของคุณเองนั้น ก็สามารถคลิ้กที่ SiamQuant AlphaSuite เพื่ออ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้เลยครับ แล้วพบกันใหม่บทความหน้าครับ ^^