คุณเคยเจอเหตุการณ์ที่ว่าตลาดวิ่งขึ้นแต่พอร์ตของเรากลับไม่ไปไหน หรือตลาดลงไม่เท่าไหร่แต่พอร์ตของเราดันลงหนักกว่าซะงั้นบ้างไหมครับ? ผมแน่ใจ 99.99% ว่าถ้าคุณลงทุนมานานพอมันจะต้องเคยเกิดขึ้นกับคุณบ้างแน่ๆ ซึ่งหากว่าคุณเคยเจอกับเหตุการณ์แบบนี้อยู่บ่อยๆจนต้องเป็นทุกข์ในการลงทุน หรือเปลี่ยนกลยุทธ์ไปๆมาๆแล้วล่ะก็ ผมขอแนะนำให้ลองอ่านบทความนี้ดูนะครับ เพราะจะช่วยให้คุณเกิดความเข้าใจ และรู้ว่าจะรับมือกับมันอย่างไรได้บ้างไม่มากก็น้อยครับ
สืบเนื่องจากการที่เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ แห่ง CP ได้ใช้ชื่อหนังสือว่า “ความสำเร็จดีใจได้วันเดียว” เพื่อเป็นข้อคิดเตือนใจสำหรับนักธุรกิจทั้งหลาย มันจึงทำให้ผมมีไอเดียที่อยากจะแชร์ข้อมูลในมุมมองของนักลงทุนกันดูบ้างว่าอันที่จริงแล้วนั้น นักลงทุนอย่างพวกเราจะมีโอกาสดีใจกับความสำเร็จในตลาดหุ้นกันได้สักกี่วัน? (และอาจจะต้องเสียใจกันสักกี่วัน) ซึ่งผมเชื่อว่าจะทำให้หลายๆคนมีความคาดหวังที่สมจริง และช่วยยกระดับจิตวิทยาการลงทุนให้กับทุกคนได้ไม่มากก็น้อยครับ
เนื่องจากเราค่อนข้างมั่นใจว่าในปีนี้นักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่มีผลการลงทุนที่ไม่ค่อยจะดีนัก ทำให้นักลงทุนหลายๆคนที่ตั้งใจลงทุนอย่างมีหลักการเกิดความท้อแท้และรู้สึกหมดกำลังใจในการลงทุนไปพอสมควร เราจึงอยากที่จะแชร์แนวคิดในการวิเคราะห์ผลตอบแทนด้วยปัจจัยหนุนนำในระดับเบื้องต้น (Factor Analysis) ซึ่งจะทำให้คุณเข้าใจที่มาที่ไปของผลตอบแทนที่เกิดขึ้น และยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับการลงทุนในหลายๆแนวทางอีกด้วยครับ 😀
เราควรจะ “กระจายความเสี่ยง” หรือไม่ และเราควรจะกระจายความเสี่ยงมากสักแค่ไหน? แล้วมันมีประโยชน์จริงๆหรือ? ในบทความนี้ ผมจะแสดงให้พวกเราทุกคนได้เห็นถึงผลกระทบทั้งในทางบวกและทางลบของมันให้เห็นกันอย่างชัดเจน ด้วยการทดสอบถึงหลักการกระจายความเสี่ยงในตลาดหุ้นไทยกันครับ!
ในบทความนี้เราจะมาพูดคุยกันว่าอะไรคือ Invert Yield ? ทำไมนักลงทุนและนักวิเคราะห์ถึงต้องกังวล ? รวมถึงผลกระทบของปรากฏการณ์ Invert Yield ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตและสิ่งที่นักลงทุนควรทำเพื่อรับมือกับมัน